วันอาทิตย์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2560

รู้ทันภัยเงียบ "มะเร็งหลังโพรงจมูก" !!

การรักษามะเร็งหลังโพรงจมูก “ด้วยรังสี” กับโรงพยาบาลศูนย์วิจัยศึกษาและบำบัดโรคมะเร็ง เนื่องจากหลังโพรงจมูกเป็นตำแหน่งที่อยู่ลึกและล้อมรอบด้วยอวัยวะที่สำคัญ ดังนั้น ก่อนการรักษาแพทย์จะต้องทำการตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด โดยเริ่มจากการตรวจร่างกายทั่วไป ซึ่งหากมีข้อสงสัยว่าเป็นมะเร็ง แพทย์จะทำการส่องกล้องผ่านจมูกเข้าไป และตัดตัวอย่างชิ้นเนื้อเพื่อนำมาตรวจวินิจฉัยโรค เมื่อได้ผลการวินิจฉัยแล้ว แพทย์จะทำการตรวจเพิ่มเติม เช่น การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan หรือ MRI), เอกซเรย์ปอด (X-ray), U/S upper abdomen, Bone scan เพื่อประเมินระยะของโรค และเจาะเลือด ทำฟัน เพื่อเตรียมความพร้อมของผู้ป่วยก่อนการรักษาต่อไป การรักษามะเร็งหลังโพรงจมูกในปัจจุบัน 
การผ่าตัดนั้นไม่มีบทบาทในการรักษาโดยตรง เนื่องจากมะเร็งหลังโพรงจมูกมีขอบเขตของรอยโรคใกล้กับอวัยวะที่สำคัญ อาทิเส้นเลือดแดงใหญ่ที่เลี้ยงคอและสมอง ฐานกะโหลกศีรษะ ตลอดจนส่วนของสมองเอง ดังนั้น การรักษาด้วยรังสีจึงถือเป็นการรักษาหลักของมะเร็งหลังโพรงจมูก โดยถ้าเป็นในระยะแรก จะรักษาโดยการฉายรังสีอย่างเดียว แต่ถ้าเป็นระยะลุกลาม การรักษาจะเป็นการฉายรังสีร่วมกับการให้ยาเคมีบำบัด โดยจะนำยาเคมีบำบัดเข้ามาร่วมในการรักษาในรูปแบบต่างๆ คือ การให้ยาเคมีพร้อมกับการฉายรังสี และการให้ยาเคมีบำบัดอย่างเดียวหลังการฉายรังสีครบ โดยในส่วนของการฉายรังสีจะฉายติดต่อกันทุกวัน หยุดพักสัปดาห์ละ 2 วัน เพื่อให้เนื้อเยื่อปกติได้มีเวลาฟื้นตัว การรักษาใช้เวลาประมาณ 6-7 สัปดาห์ ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล ฉายรังสีแล้วสามารถกลับบ้านได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น